"วันเพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์ถึงความไม่เท่าเทียมของผู้หญิง" จากจุดเริ่มต้นของการลุกฮือของกรรมกรหญิงโรงงานทอผ้า ในสหรัฐอเมริกา ที่มาจากการถูกกดขี่ข่มเหง ใช้แรงงานเยี่ยงทาส จนนำไปสู่การเรียกร้องสิทธิ์ของเหล่ากรรมกรสตรีในโรงงานให้ได้รับความทัดเทียมกับแรงงานชาย รวมถึงเรียกร้องให้มีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็ก ตามมาซึ่งบทสรุปแห่งความสำเร็จหลังการต่อสู้อันยาวนาน ด้วยการได้รับการรับรองในข้อเรียกร้องอันเป็นธรรมจากที่ประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ณ เมืองโคเปนฮาเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 พร้อมผลักดันให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันเพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์ถึงความไม่เท่าเทียมของผู้หญิง” อันเป็นจุดเริ่มต้นของวันสตรีสากลในเวลาต่อมา วันสตรีสากล หรือ International Woman’s Day ในปีนี้ ครบรอบปีที่ 110 แล้ว เพื่อเป็นการระลึกถึงและให้ความสำคัญกับผู้หญิงทุกคนบนโลกที่มีต่อความสำเร็จในหลายๆ ภาคส่วน Power ขอหยิบยกบางเรื่องราวชีวิตของเหล่านักสู้หัวใจแกร่ง “ผู้หญิง” นักขับเคลื่อนสังคม ผู้เป็นแรงบันดาลใจในการแสวงหาความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าในตัวเอง ที่ทำอะไรได้มากกว่าที่ใครเคยขีดเส้นกำหนดไว้ ผ่านการบอกเล่าในรูปแบบของภาพยนตร์ Based on True Story ที่คว้ารางวัลมาแล้วนักต่อนักจนเป็นกระแสไปทั่วโลก ให้เราได้หาโอกาสไปทำความรู้จักพวกเธอเหล่านั้นกันอีกสักครั้ง “ฉันอยากให้คนฟังร้องไห้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่เข้าใจ ที่ฉันร้องเลยก็ตาม” - Édith Piaf - “ฉันอยากให้คนฟังร้องไห้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่เข้าใจ ที่ฉันร้องเลยก็ตาม” - Édith Piaf - Édith Piaf จากภาพยนตร์เรื่อง La Vie En Rose (2007) “ฉันอยากให้คนฟังร้องไห้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่เข้าใจที่ฉันร้องเลยก็ตาม” - Édith Piaf ครั้งหนึ่งศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติฌอร์ฌ ปงปีดู หรือ (Centre Pompidou) ได้ทำการคัดเลือกผลงานโมเดิร์นอาร์ตที่สร้างขึ้นในฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี 1906 – 1977 ปีละหนึ่งชิ้นไปจัดแสดง ซึ่งไฮไลต์อยู่ที่ปี 1945 ผลงานเพียงชิ้นเดียวในนิทรรศการที่ไม่ใช่ทัศนศิลป์ ทว่าเป็นเสียงเพลง La Vie En Rose ของศิลปิน Édith Piaf ที่เปิดคลออยู่เบาๆ โดยพวกเขาให้เหตุผลว่า ไม่มีผลงานศิลปะใดในปี 1945 ของฝรั่งเศสจะน่าจดจำไปกว่า Soundtrack ของปารีสเพลงนี้อีกแล้ว วัยเด็กของ Édith Piaf นั้นเรียกได้ว่าค่อนข้างลำบาก แม่ทิ้งเธอไปตั้งแต่ยังเล็กนัก ส่วนพ่อต้องไปรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงฝากเธอไว้กับย่าที่ดูแลสถานบริการย่านนอร์มังดี เธอถูกเลี้ยงดูโดยหญิงขายบริการที่นั่น ตอนอายุ 3 ปี เธอมีอาการดวงตามืดบอดไปชั่วขณะ จากภาวะแทรกซ้อนของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก่อนจะกลับมามองเห็นอีกครั้ง หลังจากย่าและหญิงขายบริการที่เลี้ยงดูเธอพาเธอไปขอพรจาก Saint Therese de Lisieux ไม่กี่ปีหลังจากนั้น พ่อมารับเธอไปอยู่ด้วยกันในคณะละครเร่ ทั้งคู่ตระเวนแสดงไปทั่ว และที่ริมถนนในกรุงปารีสนั่นเองคือเวทีแรกที่เธอได้ร้องเพลงให้คนฟัง ชีวิตอันเข้มข้นของ Édith Piaf ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง La Vie En Rose นำแสดงโดย Marion Cotillard ทั้งการแปลงโฉมและการแสดงอันน่าอัศจรรย์ ทำให้เธอคว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์ในปีนั้น มีการแซวกันเล่นๆ ว่า เธอน่าจะได้ “เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม” เพิ่มอีกรางวัล เพราะใครที่ไหนจะเล่นเป็นคนอื่นได้ดีขนาดนั้น อันที่จริงเพลงรักอันโด่งดังเพลงนี้ ออกจะดูขัดกับคาแรกเตอร์ของ Édith Piaf…
Editor8 March 2021