ตรุษจีนน่าจะเป็นอีกหนึ่งวันของปีที่เราอยากเป็นเด็กที่สุด เพราะว่าตามธรรมเนียมจีนนั้น ผู้ใหญ่จะให้ “อั่งเปา” แก่เด็กๆ ซึ่งก็แน่นอนว่าเมื่อถึงวันที่เด็กๆ โตขึ้น มีหน้าที่การงานแล้ว ก็จะต้องเป็นฝ่ายให้กับเด็กๆ ลูกหลานต่อไปบ้างเช่นกัน วันนี้ Power จะพาไปทำความรู้จักกับประเพณีนี้ให้มากขึ้น รู้ถึงที่มาที่ไป ทำไมต้องให้อั่งเปา ตลอดจนมุมมองที่น่าสนใจของไฮไลต์ประจำเทศกาลที่หลายคนรอคอยนี้ “อั่งเปา” คืออะไร? ในภาษาจีนแต้จิ๋วคำว่า อั่ง แปลว่า แดง ส่วนคำว่า เปา แปลว่า ซองหรือกระเป๋า ถ้าแปลตรงตัวก็จะหมายถึงซองสีแดงนั่นเอง แต่ยังมีอีกคำหนึ่งที่ได้ยินบ่อยไม่แพ้กันนั่นก็คือ “แต๊ะเอีย” หรือ แตะเอีย ซึ่งหลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เพราะได้ยิน 2 นี้สลับกันไปสลับกันมาตลอด แต๊ะเอีย เป็นภาษาจีนแต้จิ๋วเช่นกัน โดยคำว่า แต๊ะ แปลว่า ทับหรือกด ส่วนคำว่า เอีย แปลว่า เอว ต้องเท้าความต่อไปอีกเล็กน้อยว่าสมัยก่อนคนจีนจะใช้เงินเหรียญที่มีรูอยู่ตรงกลาง ซึ่งจะนิยมพกพาด้วยการร้อยเป็นพวงแล้วผูกไว้ที่เอวนั่นเอง สรุปง่ายๆ ก็คือ อั่งเปาคือซองสีแดง ในขณะที่แต๊ะเอียคือเงินหรือของมีค่าที่อยู่ในซอง ทั้งสองมักจะมาคู่กัน จะเรียกคำไหนก็เป็นที่เข้าใจได้ ซึ่งอย่างที่บอกว่าถ้าเด็กโตขึ้นจนมีงานมีรายได้แล้ว ก็จะต้องเป็นฝ่ายให้และอดรับซองจากผู้ใหญ่ ยกเว้นผู้ใหญ่ยังเอ็นดูและประสงค์ที่จะให้ต่อไป ซึ่งประเด็นนี้ก็มีที่มาที่ไปอยู่เช่นกัน ของขวัญจากความปรารถนาดี การให้เงินเด็กๆ ในวันปีใหม่นอกจากมีจุดประสงค์เพื่อให้มีเงินเล็กๆ น้อยๆ ในการซื้อขนมหรือประทัดเล่นแล้ว ยังมีความหมายแฝงที่เป็นสิริมงคลอีกด้วย แน่นอนว่าเป็นประหนึ่งเป็นเงินขวัญถุงข้ามปี เพื่อให้ลูกหลานรู้จักเก็บหอมรอมริบจะได้มีเงินใช้ไม่ขาดมือนั่นเอง ส่วนที่มาของประเพณีนี้นั้นมีการลงความเห็นที่แตกต่างกันไป บ้างว่ามาจากประเพณีเก่าสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ที่จะทำการวางพานหรือถาดผลไม้ไว้ข้างๆ หมอนในคืนวันสิ้นปี เพื่อที่ตื่นมาเช้าปีใหม่และทั้งปีจะได้มีกิน ในเวลาต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเงินโดยที่ยังคงจุดประสงค์เดิมเอาไว้ บ้างก็ว่าคืนสิ้นปีจะมีผีร้ายออกมาทำร้ายเด็กๆ ผู้ใหญ่จะต้องเฝ้าทั้งคืน แต่ปรากฏว่ามีผู้เฒ่าคนหนึ่งมีลูกเล็ก ด้วยความที่ตัวเองอายุมากแล้วจึงเผลอหลับไป แต่เงินเหรียญห่อด้วยกระดาษแดงที่วางอยู่แถวนั้นกลับเปล่งรัศมีออกมาไล่ผีร้ายตนนั้นไป ไม่ว่าที่มาที่แท้จริงของประเพณีการให้อั่งเปาจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่สรุปได้แน่ๆ ก็คือ มันคือการดูแลเอาใจใส่ที่ผู้ใหญ่มอบให้แก่ลูกๆ หลานๆ นั่นเอง แม้แต่ห้างร้านต่างๆ นายจ้างก็นิยมให้อั่งเปาหรือแต๊ะเอียกับลูกจ้างในวันตรุษจีนด้วยเช่นกัน อันที่จริงถ้าดูจากความหมายและที่มาแล้ว ไม่ว่าใครก็ให้อั่งเปากันได้ เด็กๆ จะให้ผู้ใหญ่ก็ย่อมได้ อาจจะเป็นเงินไม่มากหรือต่อให้ไม่มีเงินเลยก็ตาม อั่งเปาก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาดีที่มีให้กันอยู่เสมอ ของขวัญจากความปรารถนาดี การให้เงินเด็กๆ ในวันปีใหม่นอกจากมีจุดประสงค์เพื่อให้มีเงินเล็กๆ น้อยๆ ในการซื้อขนมหรือประทัดเล่นแล้ว ยังมีความหมายแฝงที่เป็นสิริมงคลอีกด้วย แน่นอนว่าเป็นประหนึ่งเป็นเงินขวัญถุงข้ามปี เพื่อให้ลูกหลานรู้จักเก็บหอมรอมริบจะได้มีเงินใช้ไม่ขาดมือนั่นเอง ส่วนที่มาของประเพณีนี้นั้นมีการลงความเห็นที่แตกต่างกันไป บ้างว่ามาจากประเพณีเก่าสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ที่จะทำการวางพานหรือถาดผลไม้ไว้ข้างๆ หมอนในคืนวันสิ้นปี เพื่อที่ตื่นมาเช้าปีใหม่และทั้งปีจะได้มีกิน ในเวลาต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเงินโดยที่ยังคงจุดประสงค์เดิมเอาไว้ บ้างก็ว่าคืนสิ้นปีจะมีผีร้ายออกมาทำร้ายเด็กๆ ผู้ใหญ่จะต้องเฝ้าทั้งคืน แต่ปรากฏว่ามีผู้เฒ่าคนหนึ่งมีลูกเล็ก ด้วยความที่ตัวเองอายุมากแล้วจึงเผลอหลับไป แต่เงินเหรียญห่อด้วยกระดาษแดงที่วางอยู่แถวนั้นกลับเปล่งรัศมีออกมาไล่ผีร้ายตนนั้นไป ไม่ว่าที่มาที่แท้จริงของประเพณีการให้อั่งเปาจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่สรุปได้แน่ๆ ก็คือ มันคือการดูแลเอาใจใส่ที่ผู้ใหญ่มอบให้แก่ลูกๆ หลานๆ นั่นเอง แม้แต่ห้างร้านต่างๆ นายจ้างก็นิยมให้อั่งเปาหรือแต๊ะเอียกับลูกจ้างในวันตรุษจีนด้วยเช่นกัน อันที่จริงถ้าดูจากความหมายและที่มาแล้ว ไม่ว่าใครก็ให้อั่งเปากันได้ เด็กๆ จะให้ผู้ใหญ่ก็ย่อมได้ อาจจะเป็นเงินไม่มากหรือต่อให้ไม่มีเงินเลยก็ตาม อั่งเปาก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาดีที่มีให้กันอยู่เสมอคิง เพาเวอร์ ร่วมส่งความปรารถนาดี มอบความคุ้มค่าฉลองตรุษจีน เพียงลงทะเบียนก็รับอั่งเปาส่วนลดมูลค่า 800 บาท จำนวน 3 ใบ โดยอั่งเปาส่วนลด 1 ใบ สำหรับช้อป 3,000 บาท ขึ้นไปต่อใบเสร็จ และสามารถรวมอั่งเปาส่วนลด 3 ใบ มูลค่า 2,400 บาท สำหรับช้อป 8,000 บาทขึ้นไปต่อใบเสร็จได้ ที่ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ…
Editor31 January 2022