Lifestyle

LIFESTYLE
ไปตามรอยหนังกันที่นิวซีแลนด์

By 29 June 2022 No Comments

ภาพยนตร์ที่เปี่ยมไปด้วยจินตนาการหลายเรื่อง อาจทำให้เราเผลอชื่นชมไปยังผู้กำกับ คอมพิวเตอร์กราฟิก รวมถึงทีมงานฝ่ายต่างๆ ที่ได้เนรมิตฉากอลังการที่งดงามราวกับไม่มีอยู่จริงบนดาวเคราะห์ใบนี้ขึ้นมา แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่า นั่นคือวินาทีที่ได้ไปเยือน “นิวซีแลนด์”

เพราะการไปเยือน Land of the Kiwis แห่งนี้ คุณจะได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์พิเศษราวกับกระโดดเข้าไปในโลกภาพยนตร์อย่างไรอย่างนั้น ด้วยยังคงความเป็นธรรมชาติอันสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ทั้งที่ราบ ภูเขา เทือกเขาสูง ทะเลสาบ ฟยอร์ด ธารน้ำแข็ง ป่าไม้ ชายหาด และอากาศบริสุทธิ์ ความพิเศษของนิวซีแลนด์จึงดึงดูดให้ภาพยนตร์หลายเรื่องไปถ่ายทำกันที่นั่น รวมทั้งยังดึงดูดให้เราอยากไปเห็นฉากเหล่านั้นของจริงกันอีกด้วย มาดูกันว่ามีเรื่องไหนให้เราไปตามรอยกันบ้าง

The Lord of the Rings Trilogy (2001 – 2003)

ไม่พูดถึงคงจะไม่ได้สำหรับ The Lord of the Rings หนึ่งในมหากาพย์ไตรภาคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกภาพยนตร์ จากบทประพันธ์ดั้งเดิมของ J.R.R. Tolkien ที่ถูกผู้กำกับ Peter Jackson นำมาร่ายมนตร์ผ่านแผ่นฟิล์ม จนสร้างชื่อให้กับตัวเอง ทีมงาน นักแสดง รวมถึงประเทศนิวซีแลนด์ในทันทีที่หนังออกฉาย

เรื่องราวการผจญภัยของ Frodo และเหล่าพันธมิตรแห่งแหวน กับภารกิจที่ต้องเดินทางไปยังมอร์ดอร์เพื่อทำลายแหวนแห่งอำนาจ ว่ากันว่านอกจากบรรดาตัวละครมากมายแล้ว เสน่ห์ที่ผู้คนจดจำได้ดีไม่แพ้กันก็คือฉากหลังของเรื่อง “ดินแดนมัชฌิมโลก” สุดตระการตา ไม่ว่าจะเป็น Hobbiton หมู่บ้านฮอบบิทแห่งไชร์, เทือกเขาที่ทั้งงดงามและพรั่นพรึงอย่าง Mt. Doom ภูมรณะที่เปิดสู่แหล่งลาวาใต้พิภพ ซึ่งถ่ายทำกันที่ Mount Ngauruhoe บนเกาะเหนือของนิวซีแลนด์ หรือ Edoras เมืองหลวงของโรฮัน ที่ถ่ายทำกันที่ Mount Sunday ทางเกาะใต้ รวมถึงอีกกว่าร้อยโลเคชั่นที่กระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ

The Last Samurai (2003)

เรื่องราวของร้อยเอก Nathan Algren อดีตนายทหารแห่งกองทัพสหรัฐฯ ผู้เคยผ่านสงครามอเมริกันอินเดียน ถูกว่าจ้างให้ไปสอนทหารแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของประเทศหลังจากที่สิ้นสุดสมัยเอโดะช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นกำลังปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นโลกตะวันตกในด้านต่างๆ มากขึ้น รวมไปถึงการฝึกทหารใช้อาวุธสมัยใหม่อย่างปืน เพื่อแทนที่นักรบที่สู้ด้วยดาบและธนูอย่าง “ซามูไร”

แต่เมื่อพระเอกของเราได้เข้าไปคลุกคลีกับวิถีซามูไร ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นต่างๆ ก็พบว่าแท้จริงแล้วมันคือความงดงามที่กำลังเลือนหายไปกับยุคสมัย ฉากอย่างหมู่บ้านซามูไร สมรภูมิรบ แม้กระทั่งภูเขาฟูจิ เหล่านี้ถ่ายทำในนิวซีแลนด์ ซึ่งคุณสามารถไปตามรอยได้ที่ Uruti Valley, Mount Taranaki และ Lake Tangipahoa แล้วสัมผัสความรู้สึกราวกับย้อนเวลาไปยังญี่ปุ่นช่วงปี 1870 ได้เลย

 

The Last Samurai (2003)

เรื่องราวของร้อยเอก Nathan Algren อดีตนายทหารแห่งกองทัพสหรัฐฯ ผู้เคยผ่านสงครามอเมริกันอินเดียน ถูกว่าจ้างให้ไปสอนทหารแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของประเทศหลังจากที่สิ้นสุดสมัยเอโดะช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นกำลังปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นโลกตะวันตกในด้านต่างๆ มากขึ้น รวมไปถึงการฝึกทหารใช้อาวุธสมัยใหม่อย่างปืน เพื่อแทนที่นักรบที่สู้ด้วยดาบและธนูอย่าง “ซามูไร”

แต่เมื่อพระเอกของเราได้เข้าไปคลุกคลีกับวิถีซามูไร ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นต่างๆ ก็พบว่าแท้จริงแล้วมันคือความงดงามที่กำลังเลือนหายไปกับยุคสมัย ฉากอย่างหมู่บ้านซามูไร สมรภูมิรบ แม้กระทั่งภูเขาฟูจิ เหล่านี้ถ่ายทำในนิวซีแลนด์ ซึ่งคุณสามารถไปตามรอยได้ที่ Uruti Valley, Mount Taranaki และ Lake Tangipahoa แล้วสัมผัสความรู้สึกราวกับย้อนเวลาไปยังญี่ปุ่นช่วงปี 1870 ได้เลย

 

The Chronicles of Narnia: Prince Caspian (2008)

อีกครั้งที่วรรณกรรมชุดแฟนตาซีระดับโลกอย่าง The Chronicles of Narnia ผลงานของ C. S. Lewis ถูกนำมาดัดแปลง คราวนี้มาในรูปแบบของภาพยนตร์สุดอลังการ ตำนานแห่งนาร์เนียเป็นเรื่องราวของสี่พี่น้องที่หลุดเข้าไปในดินแดนวิเศษ ที่สัตว์สามารถพูดภาษามนุษย์ เต็มไปด้วยเวทมนตร์และสัตว์ประหลาดในเทพนิยายต่างๆ ผ่านทางตู้เสื้อผ้าเก่าๆ ใบหนึ่ง และ “นิวซีแลนด์” คือโลกมหัศจรรย์ที่อยู่อีกฝั่งของตู้เสื้อผ้านั้น

ฉากหนึ่งที่เป็นที่จดจำและสร้างความประทับใจได้เผยให้เห็นความงดงามของอุโมงค์หินขนาดใหญ่ริมทะเล เพดานโค้งของอุโมงค์ให้ความรู้สึกราวกับทางเชื่อมระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกแห่งนาร์เนีย ซึ่งสถานที่นั้นก็คือ Cathedral Cove อุโมงค์หินที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเล ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทร Coromandel ซึ่งนอกจากจะเป็นจุกเช็กอินถ่ายรูปแล้ว นักท่องเที่ยวก็ยังสามารถดำน้ำตื้นดูปะการัง รวมถึงพายเรือคายักชมบรรยากศโดยรอบได้อีกด้วย

King Kong (2005)

คิงคองอาจถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ในครั้งนี้ฉากจริงๆ จากนิวซีแลนด์ได้ถูกเนรมิตให้เป็น Skull Island ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจกว่าครั้งไหนๆ เรื่องราวสุดคลาสสิกที่หลายคนคุ้นเคย เมื่อ Carl Denham ผู้กำกับตกอับที่กำลังหาทางรอดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ พาตัวเองและทีมงานลงเรือไปถ่ายหนังกันโดยหลอกว่าเป็นสิงคโปร์ ทว่าแท้จริงแล้วมันคือความบ้าคลั่งที่เขาหวังว่าจะนำรายได้มหาศาลมาให้

สำหรับฉากที่กำลังเดินทางบนเรือ Venture ไปยัง Skull Island เกาะที่เป็นบ้านของคิงคองนั้น ถ่ายทำกันรอบๆ  Kapiti Island ที่ตั้งอยู่ราว 30 ไมล์ทางเหนือของ Wellington เกาะยังคงมีสิ่งแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์และมีการจำกัดนักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปบนเกาะ ในขณะที่ฉาก New York Theatre ที่คิงคองถูกจับมาโชว์ในตอนท้ายเรื่องก็ถ่ายทำที่ Auckland Civic Theatre ในนิวซีแลนด์เช่นกัน แน่นอนว่าตอนนี้ปลอดภัยจากสัตว์ดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์ หรือแมลงยักษ์แล้ว

King Kong (2005)

คิงคองอาจถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ในครั้งนี้ฉากจริงๆ จากนิวซีแลนด์ได้ถูกเนรมิตให้เป็น Skull Island ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจกว่าครั้งไหนๆ เรื่องราวสุดคลาสสิกที่หลายคนคุ้นเคย เมื่อ Carl Denham ผู้กำกับตกอับที่กำลังหาทางรอดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ พาตัวเองและทีมงานลงเรือไปถ่ายหนังกันโดยหลอกว่าเป็นสิงคโปร์ ทว่าแท้จริงแล้วมันคือความบ้าคลั่งที่เขาหวังว่าจะนำรายได้มหาศาลมาให้

สำหรับฉากที่กำลังเดินทางบนเรือ Venture ไปยัง Skull Island เกาะที่เป็นบ้านของคิงคองนั้น ถ่ายทำกันรอบๆ  Kapiti Island ที่ตั้งอยู่ราว 30 ไมล์ทางเหนือของ Wellington เกาะยังคงมีสิ่งแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์และมีการจำกัดนักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปบนเกาะ ในขณะที่ฉาก New York Theatre ที่คิงคองถูกจับมาโชว์ในตอนท้ายเรื่องก็ถ่ายทำที่ Auckland Civic Theatre ในนิวซีแลนด์เช่นกัน แน่นอนว่าตอนนี้ปลอดภัยจากสัตว์ดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์ หรือแมลงยักษ์แล้ว

พร้อมอัปเดตทุกเรื่องที่ควรรู้ก่อนเดินทางได้ที่ www.powertravellers.com

#LoveTravellers
#PowerTravellers
#ชวนไทยเที่ยวโลกชวนโลกเที่ยวไทย
#ชวนไทยเที่ยวโลก
#KingPower

LIFESTYLE

ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
https://www.newzealand.com/
https://www.thecoromandel.com/
https://www.imdb.com/
https://en.wikipedia.org/