HappeningHappening 116Number 116POWER Mag

The Greatest King: The Father of Royal Rainmaking

By 26 December 2017 No Comments

THE FATHER OF

ROYAL RAIN–

MAKING

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใย

เหล่าพสกนิกรในพื้นที่ชนบท

ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำาเพื่อการอุปโภค

บริโภคและการเกษตร อันเนื่องจากภาวะฝนแล้ง

ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้า ฝนทิ้งช่วง

หรือฝนหมดเร็วกว่าปกติ

THE GREATEST KING

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงมีพระราชดำริเรื่องการทำฝนหลวงหรือฝนเทียม เพื่อช่วยบรรเทาความแห้งแล้ง โดยทรงได้ แนวทางมาจากการเสด็จพระราช ดำาเนินไปยังพื้นที่ต่างๆ และทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่กลับไม่สามารถรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝน ซึ่งหากทำาให้เมฆเหล่านั้นรวมตัวกัน ก็น่าจะเกิดเป็นฝนได้

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาวิจัยทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยาและการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระราชหฤทัย จึงพระราชทานแนวคิดแก้ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น รับไป ดำาเนินการค้นคว้าทดลองต่อ และต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวง ในสังกัดสำานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และได้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเหนือพื้นที่เขาใหญ่ เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยคณะปฏิบัติการ

ได้ทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice หรือ Solid Carbon Dioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลอง และสามารถทำให้กลุ่มเมฆเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลง เกิดการรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝน ขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจากการติดตามผล ได้รับรายงานยืนยันจาก ราษฎรในพื้นที่ว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองจริง การทำฝนเทียมยังประสบ ความสำเร็จด้วยดีในการทดลองอีกหลายครั้ง ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนั้นโครงการนี้ได้มีการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมา และมีส่วนช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของชาติโดยรวมได้อย่างสัมฤทธิผล

ในพ.ศ. 2541 ได้เกิดภาวะแล้งหนักรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะวิกฤตน้ำ จนส่งผลต่อ การอุปโภคบริโภค การทำการเกษตร และสภาพสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดไฟป่า และมีน้ำเค็มขึ้นสูง ปัญหาเหล่านี้ต่อเนื่องมาจนถึงฤดูร้อน ของปีพ.ศ. 2542 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดส่งคณะปฏิบัติการฝนหลวงกู้ภัยแล้ง โดยในการปฏิบัติการครั้งนี้ นอกจาก จะโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูทบทวนประสบการณ์และเทคนิคพระราชทานที่เคยปฏิบัติการได้ผลมาแล้วในอดีต ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเทคนิคควบคู่กันไปด้วย เป็นการปฏิบัติการฝนหลวงโดยการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนโดยเทคโนโลยีฝนหลวงจากทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นพร้อมกัน (เดิมเป็นกิจกรรมทำฝนจากเมฆอุ่นเพียงอย่างเดียว) ด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงพัฒนาเทคนิคการโจมตีเมฆอุ่นและเมฆเย็นพร้อมกันในกลุ่มเมฆเดียวกัน และโปรดเกล้าฯ ให้เรียกเทคนิคการโจมตีที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเป็นนวัตกรรมล่าสุดว่า Super Sandwich Technic

จากประโยชน์นานัปการของโครงการฝนหลวงอันเกิดจากพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” พร้อมกันนี้ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ที่จะคงอยู่ในใจของปวงชนชาวไทยตลอดไปตราบนานเท่านาน

THE GREATEST KING

Leave a Reply