Lifestyle

LIFESTYLE
International Youth Day
เยาวชนกับบทบาทสำคัญ
ในการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้

By 11 August 2022 No Comments

วันเยาวชนสากล 12 สิงหาคม ของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2000 ด้วยเพราะคำนึงถึงเด็กๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะความยากลำบากที่เด็กจำนวนมากต้องเผชิญ ความยากจน ความไม่รู้หนังสือ ฯลฯ เพื่อนำไปสู่การหาหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวเหล่านี้นั่นเอง โดยหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญในวันเยาวชนสากลก็คือ “รับฟัง” เสียงของเยาวชน มอบพื้นที่ สร้างโอกาสให้กับผู้ที่เป็นดั่งอนาคตของโลกนี้ได้แสดงออกมากขึ้น โดยในปี 2022 นี้ มาในแนวคิดที่ว่า Intergenerational Solidarity: Creating a World for All Ages

เนื่องในวันเยาวชนสากล Power อาสาพาไปทำความรู้จักกับเยาวชนคนเก่งที่มีบทบาทสำคัญในสังคม ทั้งแสดงออก เคลื่อนไหว และเป็นดั่งแรงบันดาลใจให้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั่วโลก พวกเขาคือความหวังที่ทำให้เรามองเห็นโอกาสที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง

Greta Thunberg

ต้องเรียกว่าเป็น “ปรากฏการณ์” สำหรับ Greta Thunberg สำหรับการเคลื่อนไหวที่เธอทำตลอดหลายปีมานี้ เธอเริ่มเป็นที่รู้จักจากการออกมาเรียกร้องเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังด้วยวัย 15 ปี ซึ่งทำให้มีเยาวชนลุกขึ้นมาสนับสนุนเธอมากมาย จากการประท้วงเล็กๆ ในประเทศสวีเดนบ้านของเธอ สู่การพูดสุนทรพจน์ในงานประชุมระดับผู้นำโลกเรื่องสภาวะอากาศ (UN Climate Action Summit) ที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนิวยอร์ก Greta ได้รับความสนใจในทันที ด้วยสีหน้าแววตาจริงจังเกินกว่าที่เด็กคนหนึ่งจะแสดงออกตามปกติ ราวกับเธอโกรธแค้นเสียจนเก็บมันไว้ไม่ได้ ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เมื่อเธอพยายามบอกเราว่า “ในขณะที่เรากำลังจะสูญพันธุ์ แต่พวกคุณทุกคนเอาแต่พูดถึงความหอมหวานของเงินและเศรษฐกิจ พวกคุณกล้าดีอย่างไร”

Marley Dias

Marley Dias รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก วันหนึ่งขณะที่อายุ 11 ปี เธอพูดกับแม่ว่า ทำไมโรงเรียนมีแต่หนังสือที่เกี่ยวกับเด็กผู้ชายผิวขาวกับหมาเต็มไปหมด เธอรู้สึกขาดอิสรภาพในการเลือกหนังสือที่เธอจะอ่าน หลังจากนั้นจึงได้ออกแคมเปญ #1000BlackGirlBooks เพื่อสร้างจุดสนใจให้กับวรรณกรรมที่มีตัวละครเอกเป็นผู้หญิงผิวดำ ด้วยการรวบรวมให้ได้ 1,000 เล่ม เพื่อนำไปแบ่งปันให้กับเด็กผู้หญิงผิวดำโรงเรียนอื่นๆ ได้อ่าน เพียงไม่กี่เดือนแคมเปญก็ประสบความสำเร็จเกินกว่าที่เธอคาดหวังไว้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่า วรรณกรรมเยาวชนขาดความหลากหลายของเนื้อหาอย่างที่มันควรจะเป็น และการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่ความฝัน อย่างที่เธอมักจะย้ำอยู่เสมอ

Marley Dias

Marley Dias รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก วันหนึ่งขณะที่อายุ 11 ปี เธอพูดกับแม่ว่า ทำไมโรงเรียนมีแต่หนังสือที่เกี่ยวกับเด็กผู้ชายผิวขาวกับหมาเต็มไปหมด เธอรู้สึกขาดอิสรภาพในการเลือกหนังสือที่เธอจะอ่าน หลังจากนั้นจึงได้ออกแคมเปญ #1000BlackGirlBooks เพื่อสร้างจุดสนใจให้กับวรรณกรรมที่มีตัวละครเอกเป็นผู้หญิงผิวดำ ด้วยการรวบรวมให้ได้ 1,000 เล่ม เพื่อนำไปแบ่งปันให้กับเด็กผู้หญิงผิวดำโรงเรียนอื่นๆ ได้อ่าน เพียงไม่กี่เดือนแคมเปญก็ประสบความสำเร็จเกินกว่าที่เธอคาดหวังไว้ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่า วรรณกรรมเยาวชนขาดความหลากหลายของเนื้อหาอย่างที่มันควรจะเป็น และการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่แค่ความฝัน อย่างที่เธอมักจะย้ำอยู่เสมอ

Adeeb Al Balushi

ภายนอก Adeeb Al Balushi ก็เป็นเหมือนกับเด็กชายอายุ 11 ปี ทั่วๆ ไปในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพียงแต่เขาเติบโตมากับความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้คน ทุกอย่างเริ่มต้นขึ้นจากการที่เขาเห็นพ่อต้องใช้ชีวิตอย่างมีข้อจำกัดด้วยเพราะใส่ขาเทียม จึงได้ออกแบบขาเทียมที่มีน้ำหนักเบาและกันน้ำ ตามด้วยการประดิษฐ์หุ่นยนต์ทำความสะอาดด้วยหวังว่ามันจะทำให้ชีวิตของแม่ง่ายขึ้น เขาจึงเดินหน้าสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง หมวกกันไฟที่มีระบบกล้องทำงานได้ดีขึ้น สมาร์ตวีลแชร์ และอีกหลายอย่าง ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากความต้องการที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น กับคำถามง่ายๆ ที่เขามักถามตัวเองว่า “เราทำอะไรได้บ้าง?”

Gitanjali Rao

ปลายปี 2020 ที่ผ่านมา Gitanjali Rao ในวัย 15 ปี ได้ขึ้นปกนิตยสาร TIME ในฐานะ “Kid of the Year” คนแรก เด็กหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียคนนี้มีความสนใจในเรื่องพันธุศาสตร์และระบาดวิทยา โดยจุดเริ่มต้นในเส้นทางสายนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่เธออายุ 4 ขวบกับของเล่นวิทยาศาสตร์ ต่อมาพออายุ 10 ปี เธอได้ยินข่าวเรื่อง Flint Water Crisis วิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับน้ำ จึงมีความสนใจเรื่องการวัดค่าของตะกั่วที่ปนเปื้อนในน้ำ สิ่งนี้นำไปสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Tethys รวมไปถึง Kindly แอปฯ ที่ใช้ AI ในการตรวจจับ “การระรานทางไซเบอร์” (Cyberbullying) ในเบื้องต้น โดยร่วมกับองค์การ UNICEF ในการกระจายบริการนี้ออกไปทั่วโลก

Gitanjali Rao

ปลายปี 2020 ที่ผ่านมา Gitanjali Rao ในวัย 15 ปี ได้ขึ้นปกนิตยสาร TIME ในฐานะ “Kid of the Year” คนแรก เด็กหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียคนนี้มีความสนใจในเรื่องพันธุศาสตร์และระบาดวิทยา โดยจุดเริ่มต้นในเส้นทางสายนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่เธออายุ 4 ขวบกับของเล่นวิทยาศาสตร์ ต่อมาพออายุ 10 ปี เธอได้ยินข่าวเรื่อง Flint Water Crisis วิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับน้ำ จึงมีความสนใจเรื่องการวัดค่าของตะกั่วที่ปนเปื้อนในน้ำ สิ่งนี้นำไปสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Tethys รวมไปถึง Kindly แอปฯ ที่ใช้ AI ในการตรวจจับ “การระรานทางไซเบอร์” (Cyberbullying) ในเบื้องต้น โดยร่วมกับองค์การ UNICEF ในการกระจายบริการนี้ออกไปทั่วโลก

LIFESTYLE