การมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้คนทั่วโลกต่างตระหนักถึงมากกว่าสิ่งใดๆ ในยุคที่โรคภัยกำลังระบาดเช่นนี้ และเนื่องในวันอนามัยโลกซึ่งตรงกับวันที่ 7 เมษายนของทุกปี Power จึงขอหยิบยกบทความเกี่ยวกับการรู้เท่าทันในการดูแลสุขภาพ ปี 2564 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้บอกเล่าไว้อย่างน่าสนใจ มาให้ได้ลองสำรวจพฤติกรรมตัวเองกัน ว่ามีความพร้อมในการรับมือกับโรคภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อได้ดีแค่ไหน?
1. Fake News
ข่าวจริงหรือข่าวปลอมรับมืออย่างไร?
ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้ เป็นเรื่องง่ายที่ผู้คนย่อมตื่นตระหนกจากความไม่ชัดเจนของสถานการณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทำให้เกิดกระแสความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย โดยพบว่ามีการนำเสนอ Fake News เรื่องมาตรการของรัฐบาลในวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งมีมากถึง 19,118 ข้อความ ในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา
เพื่อป้องกันการรับข่าวปลอม อยากให้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดก่อน ที่ Cofact หรือพูดคุยเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และติดตามแผนการรับมือโควิด-19 ได้ทางโซเชียลมีเดีย ไทยรู้สู้โควิด
2. NCDs
กลุ่มเสี่ยงควรเฝ้าระวัง เมื่อโรคอุบัติใหม่ยังคงอยู่
คนที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นหรือเป็นโรคเหล่านี้ อันได้แก่ เบาหวาน ถุงลมโป่งพอง มะเร็ง ความดันโลหิตสูง หรือแม้กระทั่ง การอ้วนลงพุง นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงควรเฝ้าระวัง เพราะหากได้รับเชื้อโควิค-19 อาจมีอาการที่รุนแรงขึ้นถึง 7 เท่า ขณะที่การสูบบุหรี่นั้น เพิ่มความเสี่ยงถึง 1.5 เท่า และการดื่มสุราส่งผลให้ร่างกายมีภูมิต้านทานในการต่อสู้กับไวรัสตํ่าลง
สร้างสุขภาพให้ดีขึ้นได้ ด้วยการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ลดละเลิกบุหรี่และสุรา หลีกเลี่ยงการเผชิญมลพิษทางอากาศ หมั่นออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง
2. NCDs
กลุ่มเสี่ยงควรเฝ้าระวัง เมื่อโรคอุบัติใหม่ยังคงอยู่
คนที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นหรือเป็นโรคเหล่านี้ อันได้แก่ เบาหวาน ถุงลมโป่งพอง มะเร็ง ความดันโลหิตสูง หรือแม้กระทั่ง การอ้วนลงพุง นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงควรเฝ้าระวัง เพราะหากได้รับเชื้อโควิค-19 อาจมีอาการที่รุนแรงขึ้นถึง 7 เท่า ขณะที่การสูบบุหรี่นั้น เพิ่มความเสี่ยงถึง 1.5 เท่า และการดื่มสุราส่งผลให้ร่างกายมีภูมิต้านทานในการต่อสู้กับไวรัสตํ่าลง
สร้างสุขภาพให้ดีขึ้นได้ ด้วยการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ลดละเลิกบุหรี่และสุรา หลีกเลี่ยงการเผชิญมลพิษทางอากาศ หมั่นออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง
3. Digital Disruption
เมื่อดิจิทัลก้าวเข้ามาทำให้โลกหมุนเร็วขึ้น
การที่ผู้คนส่วนใหญ่ต่างเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่บ้านกันมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 จึงทำให้ “โลกออนไลน์” เข้ามามีบทบาทและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ เช่น การประชุม ช้อปปิ้ง หรือการออกกำลังกาย เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาท้าทายอย่างรวดเร็ว เราทุกคนจึงต้องหมั่นเรียนรู้และพัฒนาทักษะ รู้จักใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้ได้อย่างสมดุล
4. ออกกำลังกายวิถีใหม่
ในขณะที่ฟิตเนส สนามกีฬา หรือสวนสาธารณะถูกปิด จนทำให้ผู้คนมีกิจกรรมขยับแข้งขยับขาเรียกเหงื่อกันน้อยลง จากการสำรวจข้อมูลในช่วงล็อกดาวน์พบว่า คนไทยมีพฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 32 นาที ต่อวัน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรค NCDs ได้ ดังนั้นการไปฟิตเนสหรือสนามกีฬาต่างๆ ไม่ได้ในช่วงนี้ ไม่ได้แปลว่าคุณจะไม่สามารถออกกำลังกายได้ ลองหันมาออกกำลังกายอยู่กับบ้านกับเหล่าเทรนเนอร์ออนไลน์ดูสักที นอกจากจะได้ความสนุกที่หลากหลายมากขึ้น ยังประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกมากโขเลยทีเดียว
5. ภาวะเครียด
ผลพวงทางเศรษฐกิจตกต่ำ
จากวิกฤตการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบในแง่เศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นการปิดตัวลงของธุรกิจต่างๆ มากมาย ทำให้มีคนตกงานมากขึ้น กำลังซื้อก็ลดลง ขาดสภาพคล่อง เกิดปัญหาปากท้องมากมายตามมา แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อสภาวะทางจิตใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความสุขลดลงในขณะที่ความเครียดเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้รับการเยียวยาจากภาครัฐในแง่ของการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว การเยียวยาด้านสุขภาพจิตก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง
6. New Normal
เพราะโลกเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
New Normal การดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ ที่ทุกคนต่างเฝ้าระวังและดูแลตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ การเว้นระยะห่างทางสังคม มีการใส่ใจเรื่องสุขอนามัยควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การทำงานจากที่บ้าน การใช้แอปพลิเคชันประชุมงาน รวมไปถึงจัดการเรียนการสอนทางไกล ก็กลายมาเป็นทางเลือกใหม่ในการดำเนินชีวิต
6. New Normal
เพราะโลกเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
New Normal การดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ ที่ทุกคนต่างเฝ้าระวังและดูแลตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ การเว้นระยะห่างทางสังคม มีการใส่ใจเรื่องสุขอนามัยควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การทำงานจากที่บ้าน การใช้แอปพลิเคชันประชุมงาน รวมไปถึงจัดการเรียนการสอนทางไกล ก็กลายมาเป็นทางเลือกใหม่ในการดำเนินชีวิต
7. ฝุ่นควัน PM2.5
พบสัญญาณการเสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจ
เมื่อประเทศไทยยังคงประสบปัญหามลภาวะฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งความน่าเป็นห่วงก็คือ เจ้าฝุ่นขนาดเล็กนี้ สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราการตายจากโรคมะเร็งปอดในทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือ ที่มีอัตราการตายสูงสุดเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า รองลงมาคือกรุงเทพมหานคร
การจะแก้ไขปัญหา PM2.5 ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งในด้านการคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม ก่อสร้าง การเกษตรและป่าไม้ รวมถึงมลพิษข้ามพรมแดน
8. ขยะพลาสติก ล้นโลกกำลังกลับมา
การ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สิ่งที่ตามมาก็คือปัญหาขยะพลาสติกที่เวียนกลับมาให้ต้องปวดหัวกันอีกครั้ง โดยมีข้อมูลจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ประเมินว่าวิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้ขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น 15% จากเฉลี่ยวันละ 5,500 ตันต่อวัน เป็น 6,300 ตันต่อวัน ยังไม่รวมถึงขยะที่เกิดจากหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ที่คาดว่าจะมีอัตราการทิ้งหน้ากากอนามัยราว 1.5-2 ล้านชิ้นต่อวัน
การที่เราจะสามารถช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจและวินัยจากทุกคน ด้วยวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้เอง ไม่ว่าจะเป็น การคัดแยกขยะให้เป็น ทิ้งขยะให้ถูกที่ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล หรือนำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำให้คุ้มค่า
9. สุขภาพจิตของวัยรุ่นไทย
เมื่อบ้านและโรงเรียนไม่ใช่ที่ปลอดภัยอีกต่อไป
ในช่วงการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนมาใช้ระบบออนไลน์ วัยรุ่นหลายคนสอบถามวิธีรับมือกับความเศร้า การจัดการในเรื่องความสัมพันธ์ที่ไม่เข้าใจกันของคนในบ้านถึงการใช้สื่อออนไลน์ หรือแม้แต่ในช่วงที่โรงเรียนยังเปิดสอนตามปกติ จากสถิติพบว่ามีข้อความบูลลี่ในโรงเรียนอย่างน้อย 3,473 ข้อความ หลากหลายรูปแบบทั้งกลั่นแกล้ง ทำร้ายร่างกาย รีดไถเงิน การแบน และการพูดเหยียดใส่กัน
การเปิดใจพูดคุยกันในครอบครัวเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนใจ โดยเริ่มจากการสร้างบรรยากาศที่ดีภายในบ้าน พ่อแม่เป็นนักฟังที่ดี เพื่อจะได้รับรู้ถึงความรู้สึกที่ลูกอยากจะสื่อสาร ส่วนในกรณีมีภาวะซึมเศร้า ไม่ว่าจะพ่อแม่ เพื่อนฝูง ครูอาจารย์ ต้องช่วยกันจับตาดูและพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ เพื่อนำไปสู่กลไกการให้คำปรึกษาหรือบำบัดรักษาต่อไป
10. พฤติกรรมกินอยู่อย่างไทย
เสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ในระหว่างที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์โควิด-19 ยังมีภัยด้านสุขภาพที่ไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงเลย นั่นคือ โรค NCDs ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การกินอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึกและความเครียด จากสถิติสถานการณ์สุขภาพคนไทย 10 ปีย้อนหลัง ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2562 พบว่าคนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น 2.4 เท่า
การกินผักจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรลดการกินเนื้อแดง เนื้อปิ้งย่าง รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมการกิน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค
ปัจจุบัน 2 ใน 3 ของโรคที่เกิดขึ้น มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพ เชื่อว่าทั้ง 10 ประเด็นความเสี่ยงสุขภาพคนไทย จะช่วยให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ตลอดปี 2564
10. พฤติกรรมกินอยู่อย่างไทย
เสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
ในระหว่างที่ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์โควิด-19 ยังมีภัยด้านสุขภาพที่ไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงเลย นั่นคือ โรค NCDs ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การกินอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึกและความเครียด จากสถิติสถานการณ์สุขภาพคนไทย 10 ปีย้อนหลัง ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2562 พบว่าคนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น 2.4 เท่า
การกินผักจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรลดการกินเนื้อแดง เนื้อปิ้งย่าง รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมการกิน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค
ปัจจุบัน 2 ใน 3 ของโรคที่เกิดขึ้น มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพ เชื่อว่าทั้ง 10 ประเด็นความเสี่ยงสุขภาพคนไทย จะช่วยให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ตลอดปี 2564
LIFESTYLE
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)