ในวันที่โลกร้อนอย่างโหดร้าย มนุษย์เรายังมีนวัตกรรมที่เรียกว่า แอร์คอนดิชั่น แล้วเหล่าสัตว์ร่วมโลกเล่า มีวิธีเอาตัวรอดกันอย่างไร Power จะพาไปดูระบบปรับอากาศที่น่าประทับใจของอาณาจักรสัตว์ แม้ว่าสัตว์ต่างๆ อาจไม่โชคดีมากพอที่จะมีบ้านที่มีเครื่องปรับอากาศ แต่พวกมันก็มีวิธีที่ชาญฉลาดในการทำให้ร่างกายเย็นสบายในวันที่อากาศร้อนเหลือเกิน
Termite Mounds
ไม่ต้องสงสัยเลยว่ากองปลวกหรือจอมปลวกที่เราคุ้นเคยกันดีนั้น เป็นโครงสร้างที่น่าประทับใจอย่างเหลือเชื่อ บางกองสูงเป็นเมตรจนยากที่จะเชื่อว่าพวกมันถูกสร้างขึ้นจากพื้นดินโดยแมลงตัวเล็กๆ อย่าง ‘ปลวก’ โดยไม่มีเครื่องจักรใดๆ มาช่วยทุ่นแรงเลยด้วยซ้ำ และสิ่งที่แยบยลยิ่งกว่านั้นเกี่ยวกับกองปลวกก็คือ ระบบปรับอากาศที่ซับซ้อน ภายในรังของมันจะสร้างช่องอากาศไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นการระบายอากาศตามธรรมชาติ เพราะอากาศร้อนจะมีมวลเบาและลอยสูงขึ้น ด้านล่างจะเป็นอากาศเย็นที่มีมวลหนาแน่นกว่า จึงทำให้ถึงแม้ภายนอกจะร้อนอบอ้าว แต่ด้านในของเนินก็ยังคงเย็นสบายอย่างน่าทึ่ง
Beehives
เราต่างก็รู้ว่า ‘ผึ้ง’ เก็บน้ำหวานจากดอกไม้ แต่มีคนไม่มากนักที่รู้ว่าพวกมันเก็บเกี่ยวน้ำได้เช่นเดียวกัน ยามเมื่อผึ้งเดินทางกลับรังมันจะพ่นละอองน้ำไปบนรังผึ้งทางปาก ผึ้งตัวอื่นๆ ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ใกล้ๆ ก็จะใช้ปีกพัดน้ำเพื่อทำให้รังผึ้งเย็นลง และผึ้งรังจะปฏิเสธที่จะกินน้ำหวานเมื่อต้องการน้ำมากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณให้ผึ้งออกหาอาหารไปเก็บน้ำให้มากขึ้นนั่นเอง ทีมเวิร์กสุดๆ
Beehives
เราต่างก็รู้ว่า ‘ผึ้ง’ เก็บน้ำหวานจากดอกไม้ แต่มีคนไม่มากนักที่รู้ว่าพวกมันเก็บเกี่ยวน้ำได้เช่นเดียวกัน ยามเมื่อผึ้งเดินทางกลับรังมันจะพ่นละอองน้ำไปบนรังผึ้งทางปาก ผึ้งตัวอื่นๆ ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ใกล้ๆ ก็จะใช้ปีกพัดน้ำเพื่อทำให้รังผึ้งเย็นลง และผึ้งรังจะปฏิเสธที่จะกินน้ำหวานเมื่อต้องการน้ำมากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณให้ผึ้งออกหาอาหารไปเก็บน้ำให้มากขึ้นนั่นเอง ทีมเวิร์กสุดๆ
Prairie Dog Burrows
การที่ ‘แพรรีด็อก’ จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในโพรงใต้ดินเพื่อหลบหนีนักล่า ในขณะเดียวกันก็ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ จึงมีความแออัดไม่ใช่น้อย อีกทั้งโพรงใต้ดินยังมีความอบอ้าว เพื่อให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม เจ้าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวน้อยจึงได้คิดวิธีแก้ปัญหานี้ ด้วยการขุดรูจำนวนมากเชื่อมต่อกับรังของมัน ทั้งที่อยู่ในระดับเสมอกับพื้นดินและบางจุดก็โผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินนิดหน่อยเหมือนเป็นหอคอยเล็กๆ สำหรับรับลมเมื่อสายลมพัดผ่านพื้นดินเหนือโพรง ลมก็จะเคลื่อนที่เร็วขึ้นเล็กน้อยเหนือรูที่ด้านบนของหอคอยเล็กๆ นั่น พัดเอาความร้อนและกลิ่นอับออกไป
Silver Saharan Ants
‘มดสีเงินซาฮารา’ เป็นสัตว์ที่ต้องเอาตัวรอดให้ได้ภายใต้สภาวะที่เลวร้ายอย่างยิ่ง มันมีเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น สำหรับการออกไปหาอาหาร ก่อนที่มันจะถูกทอดกรอบจากความร้อนของเปลวแดดในกระทะทะเลทรายใบใหญ่ นักวิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบได้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ว่า สีเงินที่เราเห็นบนตัวของมันนั้นแท้จริงคือเส้นขน ที่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นทรงสามเหลี่ยม ทำให้ช่วยกระจายความร้อนออกไปจากร่างกาย เคยมีการทดลองเอามดที่โกนขนออกแล้วกับมดที่ไม่ได้ถูกโกนขน ไปวางใต้โคมไฟที่กำลังส่องสว่างและแผ่ความร้อนออกมาผลคือตัวที่ไม่ได้โกนขนยังคงสามารถกักเก็บความเย็นในร่างกายได้ดีกว่าตัวที่ถูกโกนขน
Silver Saharan Ants
‘มดสีเงินซาฮารา’ เป็นสัตว์ที่ต้องเอาตัวรอดให้ได้ภายใต้สภาวะที่เลวร้ายอย่างยิ่ง มันมีเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น สำหรับการออกไปหาอาหาร ก่อนที่มันจะถูกทอดกรอบจากความร้อนของเปลวแดดในกระทะทะเลทรายใบใหญ่ นักวิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบได้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ว่า สีเงินที่เราเห็นบนตัวของมันนั้นแท้จริงคือเส้นขน ที่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นทรงสามเหลี่ยม ทำให้ช่วยกระจายความร้อนออกไปจากร่างกาย เคยมีการทดลองเอามดที่โกนขนออกแล้วกับมดที่ไม่ได้ถูกโกนขน ไปวางใต้โคมไฟที่กำลังส่องสว่างและแผ่ความร้อนออกมาผลคือตัวที่ไม่ได้โกนขนยังคงสามารถกักเก็บความเย็นในร่างกายได้ดีกว่าตัวที่ถูกโกนขน
Giraffes
อาจมีข้อสงสัยว่า ‘ยีราฟ’ ที่อาศัยอยู่ในสภาพอากาศที่แห้งและร้อนเป็นพิเศษ แต่พวกมันกลับไม่มีเหงื่อ แล้วมันรักษาความเย็นในร่างกายได้อย่างไร คำตอบก็อยู่ที่ผิวที่มีลวดลายสวยงามของยีราฟ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนหน้าต่างกันความร้อน โดยระบบไหลเวียนโลหิตของมันจะกำหนดให้กระแสเลือดที่อุ่นกว่า ไหลไปยังหลอดเลือดที่อยู่ตามขอบของลวดลายเหล่านั้น เพื่อขจัดความร้อนในร่างกาย ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ทำให้วิธีนี้เป็นวิธีคลายร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงเพราะมีพื้นที่ระบายความร้อนผ่านผิวหนังได้มากไปตามขนาดตัวของมันนั่นเอง
Koalas
ด้วยความที่ ‘โคอาลา’ ค่อนข้างขึ้นชื่อในเรื่องของความขี้เกียจ ดังนั้นหากเราคิดว่าการที่มันชอบไปนอนแผ่บนต้นไม้เป็นเพียงการผ่อนคลายแล้วล่ะก็ คุณกำลังคิดผิด เพราะต้นไม้ที่โคอาลามักจะไปเกาะแกะด้วยนั้นมักมีอุณหภูมิของเปลือกไม้ที่เย็นกว่าอุณหภูมิของอากาศ นั่นจึงเป็นคำตอบว่าโคอาลามีวิธีรักษาระดับความเย็นในร่างกายได้อย่างไร
Koalas
ด้วยความที่ ‘โคอาลา’ ค่อนข้างขึ้นชื่อในเรื่องของความขี้เกียจ ดังนั้นหากเราคิดว่าการที่มันชอบไปนอนแผ่บนต้นไม้เป็นเพียงการผ่อนคลายแล้วล่ะก็ คุณกำลังคิดผิด เพราะต้นไม้ที่โคอาลามักจะไปเกาะแกะด้วยนั้นมักมีอุณหภูมิของเปลือกไม้ที่เย็นกว่าอุณหภูมิของอากาศ นั่นจึงเป็นคำตอบว่าโคอาลามีวิธีรักษาระดับความเย็นในร่างกายได้อย่างไร
Storks and Vultures
‘แร้ง’ และ ‘นกกระสา’ บางชนิด จัดเป็นสัตว์ที่สรรหาวิธีระบายความร้อนได้ค่อนข้างสกปรกอยู่สักหน่อย นั่นก็คือ พวกมันมักจะถ่ายมูลรดขาของตัวเองเพื่อคลายร้อน เมื่อของเหลวจากมูลระเหยออกไปอุณหภูมิของร่างกายก็จะลดลง ใช้หลักการที่คล้ายกับการขับเหงื่อนั่นเอง
Dogs and Cats
ในวันที่อากาศร้อนหรือทำกิจกรรมหนักๆ ‘สุนัข’ จะหอบ เพื่อเป็นการรักษาความเย็นตามธรรมชาติ พวกมันจะขับลมหายใจอุ่นๆ ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว และรับอากาศที่เย็นกว่าเข้าไปในปอด กลไกในร่างกายจะทำให้ร่างกายเย็นลง ซึ่ง ‘แมว’ หรือนกบางชนิดก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่แมวจะระบายความร้อนด้วยการเลียอุ้งเท้าช่วยด้วยอีกทางหนึ่ง
Dogs and Cats
ในวันที่อากาศร้อนหรือทำกิจกรรมหนักๆ ‘สุนัข’ จะหอบ เพื่อเป็นการรักษาความเย็นตามธรรมชาติ พวกมันจะขับลมหายใจอุ่นๆ ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว และรับอากาศที่เย็นกว่าเข้าไปในปอด กลไกในร่างกายจะทำให้ร่างกายเย็นลง ซึ่ง ‘แมว’ หรือนกบางชนิดก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่แมวจะระบายความร้อนด้วยการเลียอุ้งเท้าช่วยด้วยอีกทางหนึ่ง
Lizards and Iguanas
สัตว์เลื้อยคลานถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตัวเองได้ดีกว่าใคร พวกมันสามารถพาตัวเองไปอยู่ในที่ที่มั่นใจได้ว่าจะได้รับแสงแดดอันอบอุ่นเมื่อต้องการให้ร่างกายอุ่นขึ้น ในเดียวกันก็รู้ว่าเมื่อใดควรต้องแอบหลบเข้าไปในซอกหลืบเพื่อหนีร้อนเช่นกัน
Pigs and Hippos
เมื่อต้องการลดอุณหภูมิของร่างกาย สัตว์อย่าง ‘ฮิปโป’ และ ‘หมู’ ย่อมไม่พ้นกิจกรรมที่ชอบอย่างการอาบโคลนเย็นๆ เมื่อความชื้นจากโคลนระเหยออกไปจะทำให้ความร้อนในร่างกายถูกขับออกไปด้วยในอัตราที่ช้ากว่าการระเหยของน้ำ ซึ่งนั่นหมายความว่า สัตว์ที่ชอบอาบน้ำโคลนจะเย็นได้นานกว่า แต่ก็เลอะเทอะมากกว่าด้วยเช่นกัน
Pigs and Hippos
เมื่อต้องการลดอุณหภูมิของร่างกาย สัตว์อย่าง ‘ฮิปโป’ และ ‘หมู’ ย่อมไม่พ้นกิจกรรมที่ชอบอย่างการอาบโคลนเย็นๆ เมื่อความชื้นจากโคลนระเหยออกไปจะทำให้ความร้อนในร่างกายถูกขับออกไปด้วยในอัตราที่ช้ากว่าการระเหยของน้ำ ซึ่งนั่นหมายความว่า สัตว์ที่ชอบอาบน้ำโคลนจะเย็นได้นานกว่า แต่ก็เลอะเทอะมากกว่าด้วยเช่นกัน
Elephants, Hares and Rabbits
สิ่งที่เหมือนกันของ ‘ช้าง’ ‘กระต่ายป่า’ และ ‘กระต่าย’ ก็คือการมีใบหูที่ใหญ่ๆ เหมือนกัน และหูใหญ่ๆ นี้คือตัวการสำคัญในการทำความเย็นให้กับพวกมัน อย่างกระต่ายป่าและกระต่ายจะควบคุมอุณหภูมิร่างกายทั้งหมดผ่านใบหู เพื่อบังคับหลอดโลหิตให้ขยายหรือหดตัว ส่วนช้างจะก้าวไปอีกขั้นด้วยการกระพือใบหู เพื่อให้เลือดที่ไหลผ่านเย็นลง อีกทั้งการฉีดน้ำใส่ใบหูยังทำให้เกิดความเย็นที่มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
Snails and Earthworms
การพยายามเอาชีวิตรอดในเดือนที่ร้อนและแห้งแล้งนั้น ‘หอยทาก’ จะหลบเข้าไปในเปลือกหอย ในขณะที่ ‘ไส้เดือน’ จะซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นดิน ซึ่งจะช่วยให้มีชีวิตอยู่ได้นานหลายสัปดาห์ เมื่อฝนมาและสภาพแวดล้อมเปียกชื้นมากพอ รวมถึงพืชพันธุ์งอกงามเพียงพอให้กิน พวกมันก็จะกลับมาเริงร่าอีกครั้ง
Snails and Earthworms
การพยายามเอาชีวิตรอดในเดือนที่ร้อนและแห้งแล้งนั้น ‘หอยทาก’ จะหลบเข้าไปในเปลือกหอย ในขณะที่ ‘ไส้เดือน’ จะซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นดิน ซึ่งจะช่วยให้มีชีวิตอยู่ได้นานหลายสัปดาห์ เมื่อฝนมาและสภาพแวดล้อมเปียกชื้นมากพอ รวมถึงพืชพันธุ์งอกงามเพียงพอให้กิน พวกมันก็จะกลับมาเริงร่าอีกครั้ง
Beach Pigs
แม้ว่าหมูส่วนใหญ่จะชอบคลายร้อนในโคลน แต่ก็มีบางส่วนที่มีวิธีการที่เด็ดกว่านั้น อย่างผองเพื่อนหมูที่บาฮามาสนั้นนับว่าไม่เหมือนใคร เพราะชื่นชอบการคลายร้อนในทะเลแคริบเบียนที่ใสสะอาดเป็นชีวิตจิตใจ
Saiga Antelope
นอกจากความน่ารักสุดๆ แล้ว จมูกอันเป็นเอกลักษณ์ของ ‘ละมั่ง’ ยังเป็นที่ตั้งของระบบปรับอากาศที่น่าประทับใจอีกด้วย สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤตนี้อาศัยอยู่ในทะเลทรายของคาซัคสถานและอุซเบกิสถาน จมูกของพวกมันมีส่วนสำคัญในการเอาชีวิตรอด อย่างแรกเลยคือจมูกยาวๆ ของพวกมันจะทำให้อากาศในทะเลทรายอุ่นขึ้นก่อนสูดเข้าสู่ร่างกาย และอย่างที่สองคือเป็นที่ตั้งของระบบกรองอากาศที่ซับซ้อนซึ่งจะกำจัดฝุ่นและทรายออกจากอากาศที่หายใจก่อนจะเข้าสู่ปอด
Saiga Antelope
นอกจากความน่ารักสุดๆ แล้ว จมูกอันเป็นเอกลักษณ์ของ ‘ละมั่ง’ ยังเป็นที่ตั้งของระบบปรับอากาศที่น่าประทับใจอีกด้วย สิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤตนี้อาศัยอยู่ในทะเลทรายของคาซัคสถานและอุซเบกิสถาน จมูกของพวกมันมีส่วนสำคัญในการเอาชีวิตรอด อย่างแรกเลยคือจมูกยาวๆ ของพวกมันจะทำให้อากาศในทะเลทรายอุ่นขึ้นก่อนสูดเข้าสู่ร่างกาย และอย่างที่สองคือเป็นที่ตั้งของระบบกรองอากาศที่ซับซ้อนซึ่งจะกำจัดฝุ่นและทรายออกจากอากาศที่หายใจก่อนจะเข้าสู่ปอด
Kangaroos
การรักษาความเย็นในร่างกายของ ‘จิงโจ้’ อาจจะไม่สกปรกเท่ากรรมวิธีของนกกระสาหรือแร้ง แต่ก็ถือว่าค่อนข้างแย่ เพราะจิงโจ้ใช้วิธีการปัดเป่าความร้อนในทะเลทรายของออสเตรเลียด้วยการถ่มน้ำลายใส่แขน ซึ่งเป็นจุดรวมของหลอดเลือดน้อยใหญ่ในร่างกายของมัน เมื่อมันถ่มน้ำลายไปบนแขนทั้งสองข้างแล้ว มันจะเลียแขนทั้งสองจนเปียกชุ่ม พอน้ำลายระเหยไปหมดอุณหภูมิทั้งตัวของมันก็จะลดต่ำลง
Cape ground Squirrels
ส่วนใหญ่เรามักคุ้นเคยกับการได้เห็นกระรอกสีเทาวิ่งไปวิ่งมาตามต้นไม้ใหญ่ในสวนสาธารณะที่ดูแล้วน่าจะเย็นสบาย ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับ ‘กระรอกดิน’ ที่อาศัยอยู่บนที่ราบแห้งแล้งของแอฟริกาที่ดูยังไงก็ร้อนกว่าในสวนสาธารณะแน่ๆ ซึ่งเจ้ากระรอกพวกนี้ก็มีวิธีหลบร้อนรักษาความเย็นให้กับตัวเองด้วยการใช้ร่มแบบพกพา ซึ่งก็คือ พวงหางที่ถูกแปรสภาพเป็นร่มสำหรับป้องกันแดดร้อนๆ ไว้ด้านหลังนั่นเอง
Cape ground Squirrels
ส่วนใหญ่เรามักคุ้นเคยกับการได้เห็นกระรอกสีเทาวิ่งไปวิ่งมาตามต้นไม้ใหญ่ในสวนสาธารณะที่ดูแล้วน่าจะเย็นสบาย ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับ ‘กระรอกดิน’ ที่อาศัยอยู่บนที่ราบแห้งแล้งของแอฟริกาที่ดูยังไงก็ร้อนกว่าในสวนสาธารณะแน่ๆ ซึ่งเจ้ากระรอกพวกนี้ก็มีวิธีหลบร้อนรักษาความเย็นให้กับตัวเองด้วยการใช้ร่มแบบพกพา ซึ่งก็คือ พวงหางที่ถูกแปรสภาพเป็นร่มสำหรับป้องกันแดดร้อนๆ ไว้ด้านหลังนั่นเอง